ชาวชุมเเสงยังคงรักษาประเพณี “ตักบาตรดอกไม้” สืบสานยาวนานตั้งเเต่สมัยพุทธกาล [ข่าวนครสวรรค์]
“ประเพณีตักบาตรดอกไม้” เป็นประเพณีที่เก่าเเก่มีที่มาที่ไปอยู่ในพุทธประวัติ บางคนจะรู้ว่ามีชื่อเสียงที่จังหวัดสระบุรีเท่านั้น เเต่จริงๆเเล้ว ที่อำเภอชุมเเสงบ้านเราก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณี “ตักบาตรดอกไม้” นี้ไว้เช่นเดียวกัน
“ประเพณีตักบาตรดอกไม้” มีตำนานมาตั้งแต่สมัยก่อนนู้น(พุทธกาล) โดยมีเรื่องเล่าว่า “นายสุมนมาลาการ” มีหน้าที่นำดอกมะลิไปถวายพระราชาก็คือพระเจ้าพิมพิสารในทุกๆวัน เเละก็จะได้ผลตอบเเทนเป็นทรัพย์สิน มีเช้าวันหนึ่งขณะที่เขากำลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง เป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตเมื่อเขาเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงถวายดอกไม้ด้วยดอกไม้ที่จะนำไปถวายพระราชาโดยมีความคิดว่า แม้จะต้องตายด้วยโทษประหารก็ยอม ชาวเมืองทราบดังนั้นจึงพาการโห่ร้องสรรเสริญเป็นอันมาก มีเพียงเมียของเขาที่ไม่พอใจ จึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร แต่พระเจ้าพิมพิสารในขณะนั้นถือเป็นโสดาบันเเล้ว นอกจากจะไม่โกรธนายสุมนมาลาการแล้ว ยังนำความนี้กราบทูลพระพุทธเจ้าอีกที พระพุทธเจ้าได้กล่าวสรรเสริญนายสุมนมาลาการ ทำให้นายสุมนมาลาการได้รับของพระราชทานจากพระเจ้าพิมพิสารถึง 8 ชนิด คือช้าง ม้า ทาส ทาสี เครื่องประดับ นารี อย่างละแปด ทรัพย์อีก 8 พันกหาปณะ และบ้านส่วยอีก 8 ตำบล
จากตำนานนี้ชาวพุทธในบางพื้นที่ก็ทำการ “ตักบาตรดอกไม้” สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงคนชุมเเสง นครสวรรค์บ้านเราด้วย ซึ่งประเพณีนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ณ วัดแสงธรรมสุทธาราม ช่วง 6 โมงเย็น มีนายสุวัฒน์ จันทร์สุข นายอำเภอชุมแสง , นายศรชัย อธิปฏิเวชช นายกเทศมนตรีเมืองชุมแสง และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมสืบสานประเพณีด้วย
ขอบคุณ:เทศบาลเมืองชุมแสง