เรื่องราวของ “พาสาน” เป็นมากกว่าจุดถ่ายรูป! ที่คนนครสวรรค์ต้องรู้เพื่อบอกต่อ ..[ข่าวนครสวรรค์]

Spread the love

ในช่วงนี้มีผู้คนชาวนครสวรรค์มากมายได้ไปท่องเที่ยว ไปถ่ายรูป ไปสูดอากาศบริสุทธิ์ที่ “พาสาน”    แต่เชื่อเหลือเกินว่าก็ยังมีอีกหลายต่อหลายคนที่ยังไม่เคยไปสถานที่เเห่งนี้     หรือเเม้เเต่คนที่เคยไปมาเเล้วมีโอกาสไปเซลฟี่ถ่ายรูปมาเเล้วก็น้อยคนนักที่จะรู้ที่มาที่ไปของ “พาสาน” แห่งนี้   วันนี้มีข้อมูลดีๆที่ทีมงาน ข่าวนครสวรรค์.com สรุปมาให้ชาวนครสวรรค์ได้เสพข้อมูลกัน

ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันของเเม่น้ำทั้ง 4 สาย ได้เเก่ปิง วัง ยม น่าน รวมกันเป็นเเม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่บริเวณนี้ชาวนครสวรรค์จะเรียกกันว่า “เกาะยม”

คำถาม : พาสาน คืออะไร?
ตอบ : พาสาน คือ ชื่อของอาคารสัญลักษณ์ต้นเเม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันของเเม่น้ำทั้ง 4 สาย ได้เเก่ปิง วัง ยม น่าน รวมกันเป็นเเม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่บริเวณนี้ชาวนครสวรรค์จะเรียกกันว่า “เกาะยม”  อาคารเเห่งนี้ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 3 ไร่ 48 ตารางวา  พื้นที่บริเวณที่ใช้ก่อสร้างได้รับอนุมัติจากธนารักษ์นครสวรรค์ส่วนหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งได้รับบริจาคจาก น.ส.วรรณี ชัยประสิทธิ์ โดยมีข้อเเม้ว่า จะต้องสร้างรูปเคารพองค์เจ้าเเม่กวนอิมไว้ด้วย   ที่ดินอีกส่วนหนึ่งก็ได้ซื้อเพิ่มจากเงินบริจาคของประชาชนคนนครสวรรค์

มีการรวมตัวกันเองของกลุ่มประชาชนในตลาดปากน้ำโพ และตั้งชื่อว่า “ชมรมรักษ์ต้นน้ำเจ้าพระยา” มีการบริจาคเงินจากคนนครสวรรค์ (ในเวลาต่อมาเงินจำนวนนี้ได้นำไปซื้อที่ดินเพิ่ม 3 แปลง เป็นเงิน 9 ล้านกว่าบาท)

คำถาม : มีความเป็นมาอย่างไร”
ตอบ : ตั้งเเต่ประมาณ 15  ปีที่เเล้ว มีการรวมตัวกันเองของกลุ่มประชาชนในตลาดปากน้ำโพ  และตั้งชื่อว่า  “ชมรมรักษ์ต้นน้ำเจ้าพระยา”  มีเเนวคิดอยากเห็นสัญลักษณ์อะไรสักอย่างที่อยู่ตรงบริเวณต้นกำเนิดเเม่น้ำเจ้าพระยา    เพื่อเป็น สัญลักษณ์ เป็นเเหล่งท่องเที่ยว เป็นเเหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เเละวิถีชีวิตของคนริมเเม่น้ำ   เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของปากน้ำโพ  และ มีการบริจาคเงินจากคนนครสวรรค์ (ในเวลาต่อมาเงินจำนวนนี้ได้นำไปซื้อที่ดินเพิ่ม 3 แปลง เป็นเงิน 9 ล้านกว่าบาท)    นั่นถือเป็นจุดเริ่มต้น

สังเกตลักษณะจากภายนอกโดยเฉพาะด้านมุมบน จะเห็นตัวอาคารเป็นเส้นทอดยาวจากจุดเริ่มต้นมี 4 เส้น เเละจะมารวมกันเป็น 2 เส้น จากนั้นจะค่อยๆผสานรวมกันที่จุดปลายเป็นหนึ่งเดียว เสมือนวิถีของเเม่น้ำทั้งสี่ ปิง วัง ยม น่าน นั่นเอง จากสี่เป็นสองเเล้วกลายเป็นหนึ่งที่นี่ / มีการประกวดนักออกแบบจากทั่วประเทศ

คำถาม :  อาคารเป็นรูปอะไร เเละทำไมถึงต้องเป็นรูปนี้?
ตอบ : ไปไปมามา เรื่องการสร้างสัญลักษณ์ที่จุดกำเนิดเเม่น้ำเจ้าพระยานั้น  ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ  ต้นเเม่น้ำเจ้าพระยานั้นถือเป็นสถานที่สำคัญระดับประเทศ จึงต้องมีการทำเรื่องทางเอกสารมากมาย รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนในประเทศไทยมีส่วนร่วม  จึงมีการระดมความคิดเเละจัดประกวดเเบบอาคาร รูปแบบ เเละชื่อของอาคารแห่งนี้ขึ้นซึ่งจัดโดย สมาคมสถาปนิกสยาม    และผลงานที่ถูกเลือก ก็คือ ผลงานของนายไกรภพ โตทับเที่ยง เเละคณะ
ส่วนอาคารเป็นรูปอะไรนั้น  คำตอบคือ ถ้าสังเกตลักษณะจากภายนอกโดยเฉพาะด้านมุมบน จะเห็นตัวอาคารเป็นเส้นทอดยาวจากจุดเริ่มต้นมี 4 เส้น เเละจะมารวมกันเป็น 2 เส้น จากนั้นจะค่อยๆผสานรวมกันที่จุดปลายเป็นหนึ่งเดียว เสมือนวิถีของเเม่น้ำทั้งสี่  ปิง วัง ยม น่าน นั่นเอง  จากสี่เป็นสองเเล้วกลายเป็นหนึ่ง ณ ที่นี่

มีการทำพิธีลงเสาเอกการก่อสร้างต้นเเรก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 โดย นายธนาคม จงจิระ ผู้ว่าฯนครสวรรค์ในขณะนั้น

คำถาม : เเล้วได้เริ่มสร้างเมื่อไร?
ตอบ : มีการเซ็นสัญญาก่อสร้าง  เมื่อวันที่  30 มีนาคม พ.ศ2559    ระหว่าง นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์พร้อมด้วยนายอนันต์ ชำนาญโลหะวาณิช  หุ้นส่วนบริษัทเจริญภัณฑ์พาณิชย์ (1984)      และมีการทำพิธีลงเสาเอกการก่อสร้างต้นเเรก เมื่อวันที่  31 พฤษภาคม 2559
พิธีลงเสาเอก >>> https://www.facebook.com/khaonakhonsawan/videos/1234993913212733/

นายอนันต์ ชำนาญโลหะวาณิช หุ้นส่วนบริษัทเจริญภัณฑ์พาณิชย์ (1984) กล่าวในที่งานเซ็นสัญญาว่า “ตามความเป็นจริงแล้วค่าใช้จ่ายหลายอย่างขยับขึ้น เช่น ค่าเหล็ก ค่าปูน ค่าวัสดุอื่นๆ แต่ทางเรายังยืนยันในราคาเดิม เพราะ โครงการนี้เป็นโครงการที่เริ่มจากคนปากน้ำโพ สร้างที่ปากน้ำโพ และยินดีที่จะสร้างด้วยคนปากน้ำโพ บริษัทตนเองทำงานก่อสร้างมากว่า 30 ปี ไม่เคยมีโครงการไหนทำให้ตื่นเต้น ขนลุก เเละศรัทธาเท่าโครงการนี้มาก่อน เพราะฉะนั้นยืนยันไม่ขยับราคาขึ้น”

คำถาม : ใช้งบประมาณเท่าไร  เเละงบจากไหน?  และใครประมูลการก่อสร้างได้?
ตอบ : เรื่องงบประมาณเป็นเรื่องที่ชาวนครสวรรค์เข้าใจผิดเป็นอย่างมากเรื่องนึง  เพราะหลายคนยังคิดว่าสมควรเอางบประมาณตรงนี้ไปพัฒนาอย่างอื่นของนครสวรรค์     เเต่เเท้จริงๆเเล้วนั่นเป็นเรื่องเข้าใจผิด   งบประมาณตรงนี้เป็นงบประมาณสนับสนุนจากกรมการท่องเที่ยวจำนวน 117,600,000 บาท นั่นหมายความว่า หากไม่มีการทำโครงการนี้ เงินจำนวนนี้ก็ไม่ได้ตกเป็นของนครสวรรค์บ้านเรา   **สิ่งเดียวที่นครสวรรค์บ้านเราจะเสียหายในกรณีที่สถานที่เเห่งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คือ งบประมาณในการดูเเลรักษาของเทศบาลนครนครสวรรค์นั่นเอง  เเต่ในทางกลับกันถ้าสถานที่แห่งนี้สามารถสร้างการเปลี่ยนเเปลงให้กับนครสวรรค์บ้านเราได้  นี่ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อจังหวัดเราเป็นอย่างมาก    และ    หุ้นส่วนบริษัทเจริญภัณฑ์พาณิชย์ (1984) จำกัดเป็นผู้ประมูลได้ โดยประมูลได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557   จนกระทั่งเวลาผ่านมาจนถึง พ.ศ.2559   ตามความเป็นจริงแล้วค่าใช้จ่ายหลายอย่างขยับขึ้น เช่น ค่าเหล็ก ค่าปูน ค่าวัสดุอื่นๆ  แต่ทาง นายอนันต์ ชำนาญโลหะวาณิช ยังยืนยันในราคาเดิม โดยได้กล่าวในที่งานเซ็นสัญญาว่า “โครงการนี้เป็นโครงการที่เริ่มจากคนปากน้ำโพ สร้างที่ปากน้ำโพ และยินดีที่จะสร้างด้วยคนปากน้ำโพ  บริษัทตนเองทำงานก่อสร้างมากว่า 30 ปี ไม่เคยมีโครงการไหนทำให้ตื่นเต้น ขนลุก เเละศรัทธาเท่าโครงการนี้มาก่อน เพราะฉะนั้นยืนยันไม่ขยับราคาขึ้น”

คำถาม : หากเสร็จเรียบร้อยเเล้ว  พาสาน จะใช้ทำอะไรบ้าง?
ตอบ : เมื่อแล้วเสร็จ พาสาน จะประกอบไปด้วย
🔹 สำนักงาน พาสาน
🔹 ห้องจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว ฯลฯ
🔹 ส่วนควบคุมระบบอาคาร
🔹 จุดชมวิวทัศนียภาพ จุดกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา
🔹 ลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมองค์ใหญ่
🔹 แพท่าน้ำ 2 หลัง
มีกิจกรรม แสง สี เสียง แสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สาดส่องไปยังตัวอาคารด้วยเทคโนโลยี มัลติมีเดีย เปิด 10.00น.-20.00น.

คำถาม : ในฤดูน้ำหลาก อาคารเเห่งนี้จะถูกน้ำท่วมไหม?
ตอบ : แบบสัญลักษณ์ มีการคัดเลือกกว่า 100 แบบ โดยทุกๆแบบต้องคำนึงถึงระดับน้ำที่ท่วม ปี 2554 คือประมาณ สูงกว่า 28 รทก. นั่นหมายถึงว่า แบที่ก่อสร้างมีการยกพื้นให้สูงขึ้น และน้ำจะไม่ท่วมตัวอาคาร “พา-สาน  สัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา” แน่นอน

คำถามสุดท้าย : คำว่า “พาสาน” หมายถึงอะไร?
ตอบ : พาสาน   หมายถึงว่า “อาคารเเห่งนี้จะพาผู้คนที่ได้มาเที่ยว ได้มาเยี่ยมชมนั้น ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตของคนเเม่น้ำ   ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของปากน้ำโพ นั่นเอง”

เรียบเรียงข้อมูลโดย นายอัสชิ ทิพย์เจริญพร บรรณาธิการข่าว เว็บไซต์ข่าวนครสวรรค์.com

รายงานโดย  ตั่วถั่ง นิวส์ พีอาร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์
————
ผู้ผลิต
ข่าวนครสวรรค์แฟนเพจ
www.facebook.com/khaonakhonsawan
ข่าวนครสวรรค์ เว็บไซต์
www.khaonakhonsawan.com/
www.ข่าวนครสวรรค์.com

——–
เเจ้งข่าว,ติดต่อทำข่าว ติดต่อประชาสัมพันธ์ได้ที่ 056-213944 , 095-6376337 , 062-8235141 ,064-8946166
———

Facebook Comments

Leave A Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Share via
Copy link
Powered by Social Snap