เเถลงข่าวที่นครสวรรค์ ..รองผู้ว่าเป็นประธาน ธ.ก.ส.ดันสินเชื่อเเละMOUช่วยชาวนาเต็มที่[ข่าวนครสวรรค์]
นายปรีขา เดชพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานพิธีลงนาม” โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกรฤดูการผลิต ปี 2564-2565″ และพิธีลงนาม MOU การจับคู่และเชื่อมโยงธุรกิจ(Business Matching)
โดยมี นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธกส. นายภูมิ เกลียวศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง และนายเจริญชัย กสิสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมพิธี ณ ห้องสายรุ้ง โรงแรมบ้านสวนรีสอร์ท อำเภอเมืองนครสวรรค์
ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ได้เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกร และมาตรการคู่ขนานปี 2564/65 สำหรับข้าว มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมอบหมายให้ธนาคารดำเนินโครงการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำโดยเฉพาะข้าวเปลือกนาปีที่กำลังทยอยเก็บเกี่ยวอยู่ปัจจุบัน นั้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงมาตรการช่วยเหลือของทางรัฐบาลและความคืบหน้าการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจกรรมสาขาภาคเหนือตอนล่าง จึงได้ ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกพืชทั้ง 3 ชนิดได้รับทราบ สนจ.นครสวรรค์ จึงได้จัดทำโครงการสินเชื่อ เพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ฤดูการผลิต ปี 2564/2565
ภายใต้โครงการพัฒนาสถาบันในภาคการเกษตรและองค์กร(สหกรณ์ และ สกต.) เพื่อเพิ่มศักยภาพของสำนักพัฒนาลูกค้าสถาบันและองค์กรชุมชน โดยดำเนินกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจและเชื่อมโยงธุรกิจ Business Marketing ระหว่างสหกรณ์การเกษตรกับผู้ประกอบการโรงสีในพื้นที่ เพื่อช่วยรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรและสมาชิก และเก็บสต๊อกข้าวเปลือกเพื่อพยุงราคาให้สูงขึ้น พร้อมกำหนดให้มีพิธีลงนามข้อตกลง (MOU)ร่วมกัน
ทางด้าน นายภูมิ เกลียวศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า สถานการณ์ผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ที่รับผิดชอบพื้นที่ 9 จังหวัด มีเพชรบูรณ์ สุโขทัย นครสวรรค์ พิษณุโลกพิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์อุทัยธานี และตาก ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่ง ธ.ก.ส. ยังคงทำหน้าที่ตามภารกิจและนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพ ให้แก่เกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบอาชีพ SMAEs สถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อย่างเต็มศักยภาพ
ด้านการสนับสนุนสินเชื่อ สามารถสนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูการประกอบอาชีพ ในทุกกลุ่มลูกค้าเป็นจำนวนเงิน 40,733.37 บาท ส่งผลใหมีพอร์ตสินเชื่อคงเหลือในระบบจำนวน 223,485.90 ล้านบาท ในขณะเดียวกันสามารถระดมทุนจากผลิตภัณฑ์ด้านเงินฝาก ผ่านผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ส่งผลให้มียอดเงินฝากรวมทั้งสิ้น 155,648.62 ล้านบาท และในภาวะวิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง จึงได้ดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าและพี่น้องประชาชน โดยมีการ ช่วยเหลือเยียวยา ลูกค้าที่ประสบปัญหา covid 19 โดยธนาคารให้การสนับสนุนด้านสาธารณสุข หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ฯ ส่วนทางด้านการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือลูกค้าโดยการมอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม รวมมูลค่าทั้งสิ้น 4,671,468 บาท
และที่สำคัญ ธ.ก.ส. มีมาตรการสนับสนุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทานเกษตรกรลูกค้า และผู้ประกอบการรายย่อย SMAEs ธนาคารได้ทำโครงการพักชำระหนี้เป็นเวลา 1 ปี และพักชำระดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 เดือน ให้แก่ผู้ที่ประสบปัญหาด้วยความสมัครใจ พร้อมสนับสนุนสินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2 ได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ สินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร สินเชื่อเงินด่วน และสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อเสริมสภาพคล่องและการจ้างงานอีกด้วย